๒๘.๑๒.๕๐

ปีใหม่อนุบาล


เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2550 ฝ่ายอนุบาลได้จัดเลี้ยงสังสรรค์ วันคริตสมาส และปีใหม่
ระหว่าง ครู นักเรียน ผู้ปกครองได้เข้าร่วมกิจกรรมซึ่งมีกิจกรรมการแสดงของนักเรียน

การประกวดแฟนซีในระดับชั้นอนุบาล 1-3

























































พบกันใหม่ปีหน้า



















































































































































































๓๐.๑๐.๕๐

โครงการส่งเสริมการรณรงค์ลดการบริโภคหวานในเด็ก


อบรม เรื่อง โครงการส่งเสริมการรณรงค์ลดการบริโภคหวานในเด็ก จังหวัดราชบุรี
อบรมวันที่ 29 ตุลาคม 2550
ผู้เข้าร่วมอบรม
1. ครูประจวบ เรืองกูล
2. ครูสุกฤตา คำย้าว
3. ครูจงฤดี เบญจพลชัย
เนื้อเรื่องการอบรม การรณรงค์การบริโภคหวานในเด็ก ผลจากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพพบว่าเด็กอายุ5-6 ปี เป็นโรคฟันผุสูงถึงร้อยละ 88 % และเมื่อสุ่มสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแบบเร่งด่วน เมื่อปี 2547 พบว่าเด็กอายุ 3ปี ในจังหวัดราชบุรีมีฟันผุมากถึงร้อยละ 72.6% ซึ่งสอดคล้องกับศึกษาของหลายจังหวัดของประเทศไทย
สาเหตุที่เด็กเกิดการฟันผุ

1. เด็กกินน้ำตาลเกินความจำเป็น
2. เด็กกินนมหวาน
3. เด็กกินขนมขบเคี้ยว
อาหารอะไรที่ปลอดภัยต่อเด็ก
1. ให้เด็กบริโภคน้ำตาลในปริมาณน้อย ไม่ติดรสชาดหวาน
2. อาหารทุกมื้อต้องอ่อนเสมอ
3. ไม่ควรให้ดื่มน้ำหวานหรือน้ำอัดลม
4. ไม่อมลูกอม ทอฟฟี่
5. ไม่กินขนมรสหวาน ขนมเหนียวติดฟัน
การสร้างจิตสำนึก
1. ฝึกนิสัยการการกินของเด็ก
2. การให้รางวัลสำหรับเด็กไม่ควรให้เป็นขนมหวานหรือ ลูกอม ทอฟฟี่
3. ส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกาย
4. อาหารเด็กแต่ละวันจัดให้มีครบ 5 หมู่
5. เข้าใจโทษของการบริโภคหวาน
การให้ความรู้
1. น้ำตาลมีอันตราย
2.
แหล่งน้ำตาลที่ดีคือ น้ำตาลจากผลไม้

เริ่มที่ใครให้เด็กไทยฟันดี
1. ผู้บริหาร
2. ผู้ปกครอง
3. ผู้ดูแลเด็ก
4. ผู้ปรุงอาหาร

การประเมินศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอ่อนหวานในวันที่ 30 พ.ย. 50

๒๙.๑๐.๕๐

อบรมกิจกรรมประกอบจังหวะดนตรี/นาฏศิลป์














เมื่อวันที่ ๑๘ - ๒๐ ต.ค. ๕๐ ได้มีการอบรมเรื่อง




กิจกรรมประกอบจังหวะดนตรีและนาฏศิลป์ ที่




ร.ร.นารีวิทยา มีผู้เข้ารับการอบรมจาก ร.ร ของ




เรา ๒ ท่านคือ ๑. ครูอุดม สุระอุดร




๒. ครูจิระสุข เกิดปราโมทย์




๑๙.๑๐.๕๐

ภาษาอังกฤษกับเด็กเล็ก


ในโลกของการสื่อสารไร้พรมแดนในปัจจุบัน ภาษาอังกฤษเข้ามาบทบาทต่อชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ อย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ เด็กไทยของเรารจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
ไม่เพียงแค่อ่านออก เขียนได้ แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสามารถนำไปใช้ได้อย่างฉะฉานชัดเจน และอาจจะเป็นไปได้ว่าในทศวรรษหน้าบุตรหลานของเราอาจมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนภาษาอื่นเพิ่มเติมอีกภาษาหนึ่งก็ได้
ถ้าถามว่าเด็กวัย 3-6 ขวบ พร้อมสำหรับการเรียนรู้ด้านภาษาหรือยัง คำตอบที่ได้รับจากผู้ที่มีประสบการณ์ ด้านการสอนภาษาก็คือ เด็กวัย 3-6 ขวบนั้น เป็นวัยแห่งการเรียนรู้เลยทีเดียว และวิธีการสอนภาษาที่จะนำมาใช้จะต้องเป็นการเรียนการสอนที่ทำให้เด็ก ๆ รู้สึกสนุกสนาน ควบคู่กับการเรียนได้ ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เพราเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่ต้องทำให้เกิดความสนใจ สนุกสนาน และ เกิดความรู้สึกว่าการเรียนภาษาอังกฤษเป็นเรื่องง่ายและสนุก นอกจากนี้เด็กจะซึมซับสำเนียงการพูดได้ใกล้เคียงกับเจ้าของดภาษามากที่สุด
สำหรับเด็กวัยนี้ ควรใช้วิธีการสอนที่เน้นธรรมชาติ โดยการซึมซับภาษาให้เกิดความคุ้นเคย และควรใชสื่อการสอน เช่น เกม ตุ๊ก การ์ตูน เพลงให้เด็กได้ตอบโต้เพื่องสร้างความมั่นใจ และกล้า แสดงออกส่วนการสอนคำศัพท์นั้น ควรใช้ภาพประกอบ และมีกิจกรรมที่เด็ก ๆ ได้ทำคู่กันไป เช่น การนำภาพต่าง ๆ ไปซ่นไว้ตามมุมห้อง ให้เด็กได้สนุกไปกับการค้นหา และเข้าใจคำศัพท์ไปด้วย
ดังนั้น การเรียนภาษาด้วยวิธีธรรมชาติ ก็คล้าย ๆ กับการให้เด็กฝึกพูดภาไทยโดยไม่จำเป็นที่จะต้องเน้นให้เด็กท่องคำศัพท์แบบนกแก้วนกขุนทองอีกต่อไป การเรียนด้วยวิธีธรรมชาตินี้ จะทำให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาได้เร็วขึ้น ซึ่งเด้กจะเรียนรู้ด้านการพูด และเข้าใจภาษาได้เร็วกว่าวิธีสอนแบบดั้งเดิม












................................................................



๕.๑๐.๕๐

การปูพื้นฐานสู่การอ่านในเด็กปฐมวัย

ประเด็นที่จะขอกล่าว คือ ประโยชน์อันมหาศาลของการอ่านหนังสือ
อย่างแรกจะต้องสร้างแรงจูงใจและชักชวนให้เด็กเกิดความสนใจในภาษาเป็นสิ่งแรก มีวิจัยที่พว่า การเรียนรู้ของเด็กขึ้นอยู่กับความสนใจของเด็ก และคติของผู้ปกครองในกระบวนการเรียนรู้การปลูกฝังให้เด็กอ่านจะต้องเริ่มให้เด็กได้พบเห็นคำและใช้ในชีวิตประจำวันโดยทั่วไป ซึ่งสามารถจินตนาการเป็นภาพได้ การพัฒนาการอ่านที่ดีคือต้องมีบรรยากาศดีผ่อนคลาย มีการยอมรับ
และไม่ถูกวิพากวิจารณ์ปัจสำคัญในการส่งเสริมการอ่านสำหรับเด้กปฐมวัยได้แก่
1. การจัดสภาพแว้ดล้อมทางภาษา ชั้นเรียนควรตกแต่งด้วยคำหรือข้อความ
ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประวัน ภายในห้องเรียนนั้นมุมประสบการณ์ที่ขาดไม่ได้คือ มุมหนังสือ
มุมบ้าน มุมบล็อก เป็นต้น
2.การจูงใจให้เด้กรักการอ่านด้วยการเล่านิทานให้เด็กฟังหรือการอ่านนิทานให้เด็กนั่งฟังแบบและแบบไม่จบเรื่อง
3.นำคำจากนิทาน บทความ เรื่องราว ที่เด็กสนใจแล้วหยิบคำที่น่าสนใจจากเรื่องราวมาจัดเป็นหมวดหมู่ คำแล้วให้เด็กได้มีประสบการณ์จการการอ่านคำเหล่านี้มาจัดกิจกรรม
ต่างๆ
4.สื่อที่ใช้ในการจัดประสบการณ์ด้านการอ่านควรเป็นภาพ หนังสือภาพ ตัวอักษรที่ทำด้วยกระดาษแข็ง พลาสติกเหลือใช้
5. เด็กควรเรียนรู้ถ้อยคำจากใจความ เพื่อให้เข้าใจความหมายของคำชัดเจนยิ่งขึ้น

๓.๑๐.๕๐

ความฉลาดทางอารมณ์(EQ)ฝึกฝนได้



ความฉลาดของคนเราไม่ได้ขึ้นอยู่แค่เพียงการมีมันสมองที่เป็นเลิศสามารถรับรู้เรียนรู้สิ่งต่างๆได้เร็วกว่าคนทั่วไปเท่านั้น หากแต่ความฉลาดของคนเราต้องประกอบเข้ากับความฉลาดทางอารมณ์ด้วย กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำคู่มือความรู้เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในเด็กอายุ 3 -11ปีขึ้นมาเป็นแนวทางในการเลี้ยงลูกให้สำหรับพ่อแม่/ผู้ปกครองไว้ศึกษาเรียนรู้อย่างยิ่ง

ว่ากันว่าคนเราไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ หรือต่อให้คนฉลาดแค่ไหนก็ทำส่งผิดพลาดได้ทั้งนั้น ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ดังนั้นหากในจุดเริ่มต้นในชีวิตของเด็ก เขาได้รับการอบรมสั่งสอนและการแนะนำที่ดีจากพ่อแม่แล้วเมื่อโตขึ้นเขาสามารถเลือกแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างฉลาด โดยหลักการสำคัญในการอบรมสั่งสอนและการแนะนำมีดังนี้

1. หากจะสอนอะไร พยายามสอนตอนลูกอารมณ์ดีและสอนแบบการพูดคุย ถามความรู้สึกและเหตุผลของเขา ลูกจะฟังได้มากกว่า
2. ให้โอกาสลูกได้เรียนรู้ความผิดพลาด หากเห็นว่าลูกทำอะไม่ถูกต้องหรือผิดพลาด ถ้าสิ่งนั้นไม่ใช่ความผิดพลาดรุนแรงที่จะส่งผลเสียหายอะไร พ่อแม่ไม่ควรเข้าไปขัดขวางการกระทำของลูกทันที เพราะจะเป็นการขัดขวางการเรียนรู้ตามธรรมชาติ ทำให้เด็กไม่ได้เรียนรู้ในการเผชิญปัญหา และแก้ไขปัญหาต่าง ๆด้วยตนเอง เขาจะรู้สึกว่าต้องคอยพึ่งพาพ่อแม่ ยิ่งกว่านั้นการที่พ่อแม่ไม่ให้เด็กทำอะไรเอง ก็เท่ากับเป็นการอบรมลูกว่าลูกไม่ดีพอ ไม่เก่งพอ และพ่อแม่ไม่เชื่อถือในตัวลูกเด็กจึงรู้สึกว่าตัวเองด้อยค่า ดังนั้นควรปล่อยให้เด็กทำอะไรเองบ้างแม้ว่าเขาอาจทำไม่ดี ไม่เรียบร้อย หรือผิดพลาด แต่เด็กจะได้เรียนรู้ความผิดพลาดนั้น
3. อย่ามองข้ามปัญหาที่ดูเหมือนเล็ก ๆ น้อย ๆ ควรแก้ไขตั้งแต่ต้น มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาต่อเนื่องเป็นลูกโซ่และกลายเป็นปัญหาใหญ่ในที่สุด เช่น พ่อแม่ไม่ว่าอะไรที่ลูกแอบหยิบเงินเล็กน้อยในกระเป๋าของพ่อแม่โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นการบ่มเพาะนิสัยการลักเล็กขโมยน้อย
ทักษะการให้รางวัลแรงเสริม
เมื่อพ่อแม่อยากให้ลูกทำอะไรก็ตามต้องจูงใจด้วยการให้การเสริมแรงทางบวก วิธีการให้รางวัลเป็นกลยุทธ์ที่ดีในการเสริมแรงให้ลูกปฎิบัติในทางที่ชอบ โดยมีเทคนิคในการให้รางวัลดังต่อไปนี้
1. ให้รางวัลอะไร รางวัลควรเป็นสิ่งที่เด็กชอบและสนใจ เด็กวัย 4-5 ปี อาจจะชอบของเล่น แต่เด็กวัย 5-6 ปี ต้องการคำยกย่องชมเชย การให้ความสนใจ เด็ก เด็กเล็กอาจจูงใจด้วยการให้รางวัลเป็นวัตถุสิ่งของก่อน แต่พอโตขึ้นหน่อย ก็งดรางวัล ที่เป็นวัตถุและให้รางวัลด้วยการยกย่อง ชมเชยแทน
2.ให้รางวัลกรณีใดบ้าง พ่อแม่ควรให้รางวัลลูกใน 2 กรณี คือ
-เมื่อพ่อแม่พบว่า ลูกทำได้ไม่ดีนัก ซึ่งมักมีสาเหตุจากการขาดแรงเสริม พ่อแม่ควรกำหนดรางวัล โดยการตกลงกับลูกไว้ล่วงหน้าว่า ถ้าเขาทำอะไรตามที่พ่อแม่ต้องการเขาจะได้รับอะไร และเมื่อเขาทำได้พ่อแม่ต้องให้ทันที เช่น หากเขาทำการบ้านเสร็จเรียบร้อยได้ทุกวัน โดยพ่อแม่ไม่ต้องเตือนเป็นเวลา 1 สัปดาห์ พ่อแม่จะพาไปทานข้าวนอกบ้านในวันหยุดเสาร์อาทิตย์ เป็นต้น
-เมื่อเด็กมีการปฏิบัติดีอยู่แล้วพ่อแม่ต้องการให้ปฏิบัติมากขึ้น บ่อยครั้งขึ้น ก็ตั้งรางวัลให้ หรือหยิบจุดที่เป็นความเพียรพยายามออกมายกย่องย่อมจะเป็นแรงเสริมให้ลูกสร้างนิสัยนั้นอย่างยั่งยืน เช่น ชมเชยว่า "ลูกรน่ารักมากที่รู้จักเก็บของเข้าที่ทุกวัน"
-เมื่อพ่อแม่เห็นชอบและซาบซึ้งในการกระทำใด ๆ ควรยกย่องชมเชยทันที จะเป็นรางวัลทางด้านจิตใจซึ่งมีค่ามากกว่ารางวัลวัตถุมากมาย
3. พ่อแม่ควรปฏิบัติอย่างไร พ่อแม่ควรให้รางวัลชมเชยในพฤติกรรมที่เด่นชัด และเป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ เช่น การที่ลูกช่วยพ่อแม่ทำงานบ้านการแบ่งของเล่นให้เพื่อน การแสดงพฤติกรรมทางบวกใดก็ตามที่ตรงข้ามกับพฤติกรรมทางลบท่พ่อแม่ไม่ชอบ พ่อแม่ต้องสังเกตการพัฒนาของลูกและให้รางวัลตอบแทนการทำความดีไม่ใช่การติดสินบนแลกเปลี่ยนที่เด็กไม่กระทำความผิด และการให้รางวัลต้องให้ทันทีที่เด็กแสดงพฤติกดรรมท่ชอบไม่ใช่รอไปชมในวันพรุ่งนี้
และต้องให้อย่างสม่ำเสมอแม้จะเป็นสิ่งที่ลูกปฏิบัติซ้ำ สิ่งที่ควรให้บ่อย ๆ พ่อแม่อย่าประหยัดคำยกย่อง ชมเชยลูกด้วยเกรงว่าลูกจะเหลิง ที่จริงความดีงามนั้นถ้าเด็กยิ่งรู้สึกว่าพ่อแม่มองเห็น เขาจะยิ่งปฏิบัติบ่อยขึ้น



๒๗.๙.๕๐



การจัดการเรียนการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม
โดยครูเป็นผู้สาธิตและเด็กทำตาม

กิจกรรมอนุบาล



กิจกรรมนอกห้องเรียน
นอกจากการเรียนในชั้นเรียนแล้ว อนุบาลของเรายังมีการศึกษานอกห้องเรียน
เช่น การชมธรรมชาติ เป็นการเรียนรู้ตามสภาพจริง
และมีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามความสนใจของ เด็กในระชั้นนั้นๆ